รื้อถอน ทำลายอาคาร ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ ทำได้ทันทีเลยไหม
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารหลายอาคารและส่งผลกระทบต่อพื้นที่กว้างขวาง กฎหมายควบคุมอาคารจะเข้ามามีบทบาทโดยให้อำนาจท้องถิ่นในการปรับปรุงพื้นที่บริเวณนั้น ยกตัวอย่างเช่น ปรับปรุงระบบโครงข่ายถนน ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคการ ขยายพื้นผิวถนน การตัดถนนใหม่ ทำทางเข้า เป็นต้น
This message
อาคารที่ถูกเพลิงไหม้และกฎหมายควบคุมอาคาร
กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้ว่า หากอาคารที่ถูกเพลิงไหม้มีมากกว่า 30 หลังคาเรือนขึ้นไปหรือในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป ไม่ว่าท้องที่นั้นจะมีพระราชฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2522 หรือไม่ก็ตามทางเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถเข้าไปดำเนินการปรับปรุงแกไจพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้และพื้นที่โดยรอบได้ในระยะ 30 เมตร ซึ่งอาคารที่ถูกเพลิงไหม้มากกว่า 30 หลังคาเรือนขึ้นไปและมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพื้นที่ 1 ไร่ขึ้นไปรวมถึงบริเวณที่อยู่ติดต่อกันในระยะ 30 เมตร บริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุเพลิงไหม้จึงเรียกว่า “เขตเพลิงไหม้” นั่นเอง
สรุปสาระสำคัญ ท้องถิ่นจะพิจารณาเหตุเพลิงไหม้เข้าหลักเกณฑ์ต้องดำเนินการประกาศเป็นเขตเพลิงไหม้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ประการได้แก่
- • อาคารถูกเพลิงไหม้ตั้งแต่ 30 หลังคาเรือนขึ้นไป
- • บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป
หมายความว่าถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวในข้างต้น ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้สามารถก่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือนได้เลย
การกระทำต้องห้ามหากเข้าหลักเกณฑ์เขตเพลิงไหม้
แต่ถ้าเข้าหลักเกณฑ์เป็นเขตเพลิงไหม้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะติดประกาศแสดงเขตเพลิงไหม้พร้อมกับแผนที่สังเขป และระบุการกระทำต้องห้ามได้แก่
- • ห้ามให้ผู้ใดหรือถอนดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตเพลิงไหม้ภายในระยะเวลา 45 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิ
- • ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตเพลิงไหม้ต้องระงับการกระทำที่ได้ร
หมายความว่าหากพื้นที่นั้นเป็นเขตเพลิงไหม้จะไม่สามารถดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารได้เลยตลอดระยะเวลา 45 วัน จนกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะพิจารณาเห็นสมควรว่าควรปรับปรุงเขตเพลิงไหม้หรือไม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุข รวมไปถึงการผังเมือง การสถาปัตยกรรมและการอำนวยความสะดวกแก่จราจร ซึ่งต้องเสนอความเห็นให้แก่คณะกรรมการควบคุมอาคารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้พิจารณาภายใน 45 วันตั้งแต่วันที่เกิดเหตุเพลิงไหม้
หากคณะกรรมการได้ลงมติแล้วว่าไม่ปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะประกาศไม่ปรับปรุงและยกเลิกการประกาศห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารกรณีต้องปรับปรุง การห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายจะมีผลบังคับใช้ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 60 วัน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะประกาศให้ประชาชนในเขตเพลิงไหม้ทราบว่าจะมีการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ โดยประกาศไว้ ณ สำ นักงานของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ด้วยและจะมีการจัดทำแผนผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ จากนั้นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะเริ่มดำเนินการปรับปรุงเขตพื้นไหม้ตามประกาศใช้บังคับแผนปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ใช้ประกาศดังกล่าว
ข้อมูลดีๆ ที่เราเอามาแชร์ในวันนี้หวังว่าจะมีประโยชน์หรือสามารถไขข้อสงสัยให้กับใครหลายๆ คนได้